เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺขติ ความว่า ย่อมพากเพียร คือ
พยายามอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า สิกฺขติ นี้ พึงเห็นใจความอย่างนี้
ว่า ความสำรวมของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา. ในอธิการว่าด้วย
อานาปานัสสติภาวนานี้ สมาธิของเธอ ผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา
ปัญญาของเธอผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา เธอย่อมสำเหนียก
คือย่อมซ่องเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งสิกขา 3 อย่าง ดังพรรณนามานี้
ด้วยสตินั้น ด้วยมนสิการนั้น ในอารมณ์นั้น. เพราะว่า โดยนัยก่อน บรรดา
สองนัยนั้น ภิกษุพึงหายใจเข้าและหายใจออกอย่างเดียวเท่านั้นไม่ต้องทำกิจ
อะไร ๆ อื่น แต่จำเดิมแต่เวลาที่รู้ชัดลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ไป ควร
ทำความพากเพียรในอาการที่ให้ญาณเกิดขึ้นเป็นต้น; เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา
พึงทราบว่า ในนัยก่อนนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีไว้ด้วยอำนาจเป็น
วัตตมานาวิภัตติว่า ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจ
ออก เท่านั้น แล้วยกพระบาลีขึ้นด้วยอำนาจคำที่เป็นอนาคตกาล โดยนัยมี
อาทิว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้ง ซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจ
เข้า ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงอาการที่ให้ญาณเกิดขึ้นเป็นต้นซึ่งควรทำจำเดิมแต่
กาลนี้ไป.

[ภิกษุกำหนดกรรมฐานแล้ว ถายสังขารจึงสงบ]


ข้อว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ ฯ เป ฯ ปสฺส-
สิสฺสามีติ สิกฺขติ
ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้สงบคือ
ระงับ คับ ได้แก่ให้กายสังขารที่หยาบสงบไป หายใจเข้าหายใจออก. ในคำ
ว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขารที่หยาบ นั้นพึงทราบความที่ลมเป็นของหยาบและ
ละเอียด และความระงับอย่างนี้ คือ :- ก็ในกาลก่อนคือในเวลาที่ภิกษุนี้ ยัง

ไม่ได้กำหนดกรรมฐาน กายและจิต ยังมีความกระวนกระวาย ยังหยาบ* เมื่อ
เมื่อกายและจิตซึ่งเป็นของหยาบ ยังไม่สงบ แม้ลมหายใจเข้าและหายใจออก ก็
เป็นของหยาบ คือเป็นไปเกินกำลัง จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง
หายใจออกบ้างทางปาก ต่อเมื่อใด กายก็ดี จิตก็ดี เป็นของอันเธอกำหนด
แล้ว เมื่อนั้น กายและจิตนั้นจึงเป็นของสงบระงับ. ครั้นเมื่อกายและจิตนั้น
สงบแล้ว ลมหายใจเข้าและหายใจออกย่อมเป็นไปละเอียด คือเป็นสภาพถึง
อาการที่จะต้องค้นหาว่า มีอยู่หรือไม่หนอ. เปรียบเหมือนลมหายใจเข้าและหาย
ใจออก ของบุรุษผู้วิ่งลงจากภูเขา หรือผู้ปลงของหนักลงจากศีรษะแล้วยืนอยู่
ย่อมเป็นของหยาบ จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง
ทางปาก ต่อเมื่อใด เขาบรรเทาความกระวนกระวายนั้นเสีย อาบและดื่มน้ำ
แล้ว เอาผ้าเปียกคลุมที่หน้าอกนอนพักที่ร่มไม้เย็น ๆ; เมื่อนั้น ลมหายใจ
เข้าและหายใจออกนั้นของเขา จึงเป็นของละเอียด คือถึงอาการที่จะต้องค้นหา
ว่ามีอยู่หรือไม่หนอ แม้ฉันใด ในกาลก่อน คือในเวลาที่ภิกษุนี้ยังไม่ได้
กำหนดกรรมฐาน กายและจิต ฯ ล ฯ คือถึงอาการที่ต้องค้นหาว่า มีอยู่หรือไม่
หนอ ฉันนั้นเหมือนกัน. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? เพราะความจริงเป็นอย่าง
นั้น ในกาลก่อน คือในเวลาที่เธอยังมิได้กำหนดกรรมฐาน การคำนึง การ
ประมวลมา การมนสิการ และการพิจารณาว่า เราจะระงับกายสังขารส่วน
หยาบ ๆ ดังนี้ หามีแก่เธอนั้นไม่, แต่ในเวลาที่เธอกำหนดแล้ว จึงมีได้.
เพราะเหตุนั้นในเวลาที่กำหนดกรรมฐาน กายสังขารของเธอนั้น จึงเป็นของ
ละเอียดกว่าเวลาที่ยังไม่ได้กำหนด. เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย
จึงกล่าวไว้ว่า
//* ศัพท์ว่า โอฬาริกนํ ให้แก้เป็น โอฬาริกา เป็นบทคุณของกายและจิต. วิสุทธิมรรก ภาค
//2/62 แก้เป็นอย่างนี้.

เมื่อกายและจิต ยังระล่ำระสายอยู่
กายสังขารย่อมเป็นไปเกินประมาณ เมื่อกาย
และจิต ไม่ระส่ำระสาย กายสังขารย่อมเป็น
ไปละเอียด.


[กายสังขารในฌานชั้นสูงขึ้นไปย่อมละเอียดไปตามลำดับ]


กายสังขารแม้ในเวลากำหนดก็ยังหยาบ ในอุปจารแห่งปฐมฌาน
ละเอียด. ถึงแม้ในอุปจารแห่งปฐมฌานนั้น ก็ยังหยาบ ในปฐมฌานละเอียด.
ในปฐมฌานและในอุปจารแห่งทุติยฌานยังหยาบ ในทุติยฌานละเอียด. ใน
ทุติยฌานและในอุปจารแห่งตติยฌานก็ยังหยาบ ในตติยฌานละเอียด. ใน
ตติยฌานและอุปจารแห่งจตุตถฌานก็ยังหยาบ ในจตุตถฌานละเอียดยิ่งนัก ถึง
ความไม่เป็นไปทีเดียว. คำนี้เป็นมติของพระอาจารย์ผู้กล่าวทีฆนิกาย และ
สังยุตตนิกายก่อน. ส่วนพระอาจารย์ทั้งหลายผู้กล่าวมัชฌิมนิกาย ย่อมปรารถนา
ความละเอียดกว่ากัน แม้ในอุปจารแห่งฌานชั้นสูง ๆ ขึ้นไปกว่าฌานชั้นต่ำ ๆ
อย่างนี้ คือกายสังขารที่เป็นไปในปฐมฌาน ยังเป็นของหยาบ โนอุปจารแห่ง
ทุติยฌาน จึงจัดว่าละเอียด ดังนี้เป็นต้น. ก็ตามมติของพระอาจารย์ทั้งหมด
นั้นแล ควรทราบดังนี้ว่า กายสังขารที่เป็นไปในเวลาที่ยังมิได้กำหนด (กรรม-
ฐาน) ย่อมระงับไปในเวลาที่กำหนดแล้ว กายสังขารที่เป็นไปในเวลาที่ได้
กำหนด ย่อมระงับไปในอุปจารแห่งปฐมฌาม ฯ ล ฯ กายสังขารทีเป็นไปใน
อุปจารแห่งจตุตถฌาน ย่อมระงับไปในจตุตถฌาน. ในสมถะมีนัยเท่านี้ก่อน.
ส่วนในวิปัสสนา พึงทราบนัยดังนี้:- กายสังขารที่เป็นไปในเมื่อยัง
มิได้กำหนด ยังหยาบ ในการกำหนดมหาภูตรูปละเอียด แม้การกำหนดมหา-
ภูตรูปนั้น ก็ยังหยาบ ในการกำหนดอุปาทายรูปละเอียด แม้การกำหนดอุปา-